บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2019

การสร้างงานแอนิเมชันแบบ Motion Tween

รูปภาพ
การสร้างงานแอนิเมชันแบบ  Motion  Tween     เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถปรับทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ 1.สร้างวัตถุหรือวาดรูปทรงที่เราต้องการ จากตัวอย่างเราจะใช้เครื่องมือ Oval Tool ในการวาดรูปทรงวงกลม 2.วาดรูปทรงวงกลมขนาดตามต้องการลงไปบน Stage 3.คลิกขวาที่รูปทรงที่เราวาดแล้วเลือกคำสั่ง Create Motion Tween 4.เมื่อปรากฏหน้าต่างดังภาพให้คลิกปุ่ม OK 5.เคลื่อนย้ายรูปทรงที่เราวาดไปยังทิศทางที่เราต้องการ ให้สังเกตว่าจะมีเส้นไกด์กำหนดทิศทางซึ่งเราสามารถกำหนดให้รูปทรงหรือวัตถุ เคลื่อนที่ไปเป็นแนวโค้ง หรืออิสระได้ 6.ทดสอบการเล่น ด้วยการกดปุ่ม Ctrl+Enter จะปรากฏตามตัวอย่าง

การสร้างงานแอนิเมชันแบบ Classic Tween

รูปภาพ
การสร้างงานแอนิเมชันแบบ   Classic Tween เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือเป็นลักษณะการเคลื่อนที่ในแนวตรง 1.สร้างวัตถุเข้าไปใน Stage ซึ่งเราสามารถแทรกรูปภาพหรือวัตถุอื่นๆ ลงไปแทนได้ (ตัวอย่างจะใช้การวาดรูปทรงวงกลมด้วยเครื่องมือ (Oval Tool) ) 2. วาดรูปทรงวงกลมขนาดตามต้องการลงไปบน Stage 3. ในส่วนหน้าต่าง Time line สร้าง keyframe เพื่อระบุตำแหน่งเริ่ม - สิ้นสุดของวัตถุ ตัวอย่างจะกำหนดความยาว 50 เฟรม (สามารถเลือกเฟรมที่เท่าไรก็ได้ เช่น เฟรมที่ 100 หรือเฟรมอื่นๆ ตามต้องการ) คลิกขวาเฟรมที่ 50 เลือก Insert Keyframe (คีย์ลัดคือ F6 ) 4. จากนั้นจะได้ลักษณะของ Time line ดังภาพ (จะเห็นว่ามีจุดสีดำ อยู่ 2 จุด ซึ่งก็คือ keyframe) 5. เลือกเฟรมที่ 50 หลังจากนั้นทำการย้ายวัตถุไปไว้ยังตำแหน่งใหม่ตามที่ต้องการ 6.คลิกขวาระหว่างเฟรมที่ 1-50 จากนั้นเลือกคำสั่ง Create Classic Tween โดยคลิกเลือกคำสั่งในบริเวณกรอบสีแดงดังรูป 7. ลักษณะ Time Line เมื่อเลือกคำสั่ง Classic Tween จะปรากฏเป็นลูกศรชี้ไ...

การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Shape Tween

รูปภาพ
การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Shape Tween การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Shape Tween Shape Tween คือการสร้างภาพเคลื่อนไหวให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่างจากรูปหนึ่ง เป็นอีกรูปหนึ่งเช่น จากรูป สี่เหลี่ยมเป็นรูปวงกลม หรือ จากรูปเป็นข้อความ เป็นต้น ขั้นที่ 1 คลิกที่เฟรมที่ 1 แล้ววาดรูปวัตถุขึ้นมาหนึ่งรูป ขั้นที่ 2 คลิกที่เฟรมที่ 1 (ส าคัญมากเพราะถ้าไม่คลิกตัวเลือกจะไม่แสดงขึ้นใหน้าต่าง Properties) แล้วเลือกค าสั่ง Shape ในช่อง Tween ขั้นที่ 3 คลิกขวาที่เฟรมที่ 20 แล้วเลือกค าสั่ง Insert Keyframe ขั้นที่ 4 คลิกเฟรมที่ 20 แล้วกดปุ่ม Delete ลบวัตถุเดิมออกตอนนี้บนไทม์ไลน์จะมีแถบ เส้นประสีเขียว ขั้นที่ 5 วาดรูปที่ต้องการให้เปลี่ยนลงไปในเฟรมที่ 20 ขั้นที่ 6 กดปุ่ม Ctrl+Enter เพื่อทดสอบการเปลี่ยนแปลงจะเห็นภาพค่อยๆเปลี่ยนจากรูป หนึ่งเป็นอีกรูปหนึ่ง ขั้นที่ 6 กดปุ่ม Ctrl+Enter เพื่อทดสอบการเปลี่ยนแปลงจะเห็นภาพค่อยๆเปลี่ยนจากรูป หนึ่งเป็นอีกรูปหนึ่ง

ประเภทของแอนิเมชั่นใน Flash

รูปภาพ
ประเภทของแอนิเมชั่นใน Flash ประเภทของแอนิเมชั่นใน Flash 1.Frame-by-frame คือ การสร้างคีย์เฟรมหลายคีย์เฟรมต่อกันไป โดยคงความต่อเนื่องของชิ้นงานชิ้นเดิมไว้ ทำให้มองเป็นเป็นภาพเคลื่อนไหว การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม จะเหมาะกับการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนไม่มีรูปแบบแน่นอน 2.Tween คำว่า Tween มาจากคำว่า “in between” เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวจากเฟรมต้นและเฟรมสุดท้าย ซึ่งโปรแกรมจะสร้างการเปลี่ยนแปลงระหว่างเฟรมให้โดยอัตโนมัติ จึงมีจะมีการสร้างเฟรมเพียง 2 เฟรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ 3.Inverse Kinematic (IK) เป็นการใส่กระดูก เพื่อเชื่อมโยงกับรูปทรงที่สร้าง หรือวัตถุหลายๆ ชิ้น ให้สัมพันธ์กันด้วยโครงกระดูก โดยสามารถขยับกระดูกเหล่านี้เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว เช่น การสร้างการเคลื่อนไหวเลียนแบบการเดินของคน Tween 1.Shape Tween เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยแปลงจากรูปทรงหนึ่งไปอีกรูปทรงหนึ่ง เช่น รูปสี่เหลี่ยมค่อยๆ เปลี่ยนเป็นรูปวงกลม 2.Classic Tween เป็นการทำแอนิเมชั่นเพื่อโดยเปลี่ยนคุณสมบัติของวัตถุ สี ความสว่างของสี หรือขนาดรูปร่าง เช่น ภาพที่ค่อยๆ สว่างขึ้น หรือตัวหนังสือค่อยๆ จา...

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Flash

รูปภาพ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Flash 1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรม Flash โปรแกรม Flash คืออะไร ? โปรแกรม Flash เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, ภาพเคลื่อนไหว (Animation), ภาพกราฟิกที่มีความคมชัด เนื่องจากเป็นกราฟิกแบบเว็คเตอร์(Vector), สามารถเล่นเสียงและวีดิโอ แบบสเตริโอได้, สามารถสร้างงานให้โต้ตอบกับ ผู้ใช้(Interactive Multimedia) มีฟังก์ชั่นสำหรับการเขียนโปรแกรม (Action Script) และยังทำงานในลักษณะ CGI โดยเชื่อมต่อกับ การเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ภาษา PHP, JSP, ASP, ASP.NET, C/C++, C#, C#.NET, VB, VB.NET, JAVA และอื่นๆ โดยเฉพาะข้อดีของโปรแกรม Flash คือ ความสามารถในการบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็ก มีผลทำให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่น ได้หลากหลาย เช่น avi, mov, gif, wav, emf,eps, ai, dxf, bmp, jpg, gif, png เป็นต้น โปรแกรม Flash เริ่มมีชื่อเสียงประมาณปี พ.ศ. 2539 จนถึง ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีเว็บ ทำให้การนำเสนอทำได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนั้น โปรแกรม Flash ยังสามารถสร้างแอพพลิเคชั่น (Application) เพื่อใช...